ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง และ ส่วนประกอบภายในเครื่อง
ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง คือ
ส่วนประกอบภายนอกจะมีความแตกต่างรายละเอียดปลีกย่อยกันไปตามแต่ล่ะรุ่น แต่ส่วนมากส่วนประกอบภายนอกเครื่องปรับอากาศ มีดังนี้
– ฝาครอบเครื่อง เป็นตะแกรงปิดด้านหน้ามีหน้าที่ส่งลมออกมา
– แผงกรองอากาศ โดยแผงนี้จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังฝาครอบอีกที ใช้ในการกรองฝุ่น , ละอองต่างๆ ที่ลอยปะปนกันไปมาอยู่ในอากาศ แต่เครื่องปรับอากาศบางตัวจะเพิ่มสารฟอกอากาศเข้าไปอีกชั้นนึง
– แผ่นเกล็ดกระจายลม มีหน้าที่ปรับทิศทางของลม ขึ้น – ลง ซ้าย – ขวา เพื่อกำหนดทิศทางของลมนั่นเอง
– สวิตช์ สามารถสั่งการได้จากรีโมทแอร์ มักติดตั้งแบบแอบๆอยู่ด้านหลังฝาครอบ
– ตัวรับสัญญาณรีโมท เอาไว้รับสัญญาณรีโมตนั่นเอง
– ไฟแสดงการทำงาน ก็จะมีการแตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อ แต่ปกติแล้วจะมีไฟอยู่ 3 ดวง คือ ไฟสีแดง คือไฟ Power ไฟสีส้ม คือไฟ Sleep และไฟสีเหลือง คือไฟ Time
– ช่องให้อากาศออก เป็นตะแกรงตั้งอยู่ภายนอกอาคารมีหน้าที่เป็นช่องระบายอากาศ ซึ่งถูกพัดลมดูดอากาศออกจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ช่วยพัดแผงท่อระบายความร้อนเป็นการไล่ความร้อนออกมานั่นเอง
– ท่อระบายน้ำทิ้ง เมื่อดูดความชื้นภายในห้องเข้ามาในเครื่อง และความชื้นเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวจนกลายเป็นหยดน้ำ เสร็จแล้วมันก็จะถูกระบายออกทางท่อนี้เอง
ส่วนประกอบภายในเครื่องปรับอากาศ มีดังนี้
– ท่อนำสารทำความเย็น มี 2 ท่อ ทำหน้าที่ส่งสารทำความเย็นไปยังแผงทำความเย็น
– แผงท่อทำความเย็น เป็นตะแกรงติดอยู่ที่ด้านหน้าของเครื่องปรับอากาศ เพื่อช่วยรับลมจากใบพัดและทำการส่งลมเย็นไปยังแผ่นเกล็ดกระจายลม
– Motor ช่วยหมุนใบพัดส่งลมเย็นเพื่อทำให้เกิดแรงลมกระจายออกมา
– ใบพัดส่งลมเย็น ส่วนนี้จะเชื่อมกับ Motor มีหน้าที่พัดเพื่อส่งลมเย็นไปที่แผงท่อทำความเย็น
– Compressor เครื่องนี้เป็นตู้สีเหลี่ยมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ทำให้สารทำความเย็นในสภาพเป็นไอ ซึ่งมาจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารรวมทั้งยังอัดไอสารทำความเย็นเพื่อส่งไปยังแผงท่อระบายความร้อน
– แผงท่อระบายความร้อน ส่วนนี้จะต่อเชื่อมกับ Compressor เป็นท่อตะแกรง ภายในมีสารทำความเย็นซึ่งส่งมาจาก Compressor ไหลเวียนอยู่
– พัดลมระบายความร้อน แปะอยู่ตรงด้านหลังของแผงท่อระบายความร้อน คอยดูดอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามาในอาคาร โดยผ่านแผงท่อระบายความร้อน ช่วยให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิลงจนกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวอีกครั้ง